โอ่งผ้าไหม งานศิลป์แผ่นดินสยาม
วันที่เผยแพร่ 21 ก.พ. 2562
วิสาหกิจชุมชน
กลุ่มงานแฮนด์เมดผู้สูงวัยบางกรวย
“ผ้าไหม” นอกจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า สืบทอดภูมิปัญญาที่น่าภาคภูมิใจของคนไทย ที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของชาติไทย โดยเสน่ห์ของผืนผ้าไหมไม่เพียงอยู่ที่เส้นใยที่นำมาถักทอแล้ว ยังมีลวดลายและเรื่องราวปรากฏอยู่บนผืนผ้าไหม เช่น ลายไทย ดอกไม้รูปทรงเลขาคณิต รูปสัตว์ สัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นต่างๆ มากมาย ที่มีความละเอียดอ่อน สวยงาม เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มงานแฮนด์เมดผู้สูงวัยบางกรวย” นำผ้าไหมมาประยุกต์ใช้กับ “โอ่ง” เครื่องปั้นดินเผาที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนนทบุรี มาผสมผสานสร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดเป็น “โอ่งผ้าไหม” สร้างอัตลักษณ์ใหม่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
คุณสิริกร นาคโต หรือ “พี่ตุ๊” เล่าว่า ก่อนหน้าที่จะเข้ามาเป็นผู้ก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนฯ ได้นำทักษะจากการเรียนเอก-วิชาศิลปะ และโท-อุตสาหกรรมศิลป์ที่โรงเรียนเพาะช่างหรือวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน รวมถึงทักษะจากการเป็นครูสอนศิลปะ หัตถกรรม และครูคอมพิวเตอร์ เสริมกับการเข้ารับฟังการอบรมจากวิชาชีพต่างๆ ที่ทางเทศบาลเมืองบางกรวยได้จัดอบรมอยู่เป็นประจำ นำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางศิลปะ เช่น ศิลปะการตกแต่งผ้าไทย ศิลปะการปักริบบิ้น หรือการทำางาน D.I.Y. ด้วยการจัดตั้งกลุ่มงานอาชีพก่อน กระทั่งวันหนึ่ง สำานักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนนทบุรี ได้เสนอให้เขียนโครงการกลุ่มวิชาชีพ เพื่อทำาการจัดตั้งเป็น “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มงานแฮนด์เมดผู้สูงวัยบางกรวย”
หลังจากได้รับคำแนะนำจากสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานนนทบุรี ได้เดินเรื่องขอจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนฯ ที่อำาเภอทันที เพียงชั่วไม่กี่อึดใจก็ได้รับการอนุมัติจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนฯ โดยมีจำนวนสมาชิกอย่างเป็นทางการราวสิบกว่าคน แต่ถ้ารวมสมาชิกทั้งหมดที่ไม่ได้ลงชื่อเข้าร่วมกลุ่มมีมากกว่าร้อยคนแน่นอน
พี่ตุ๊อธิบายต่อว่า การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนฯ ขึ้นมานั้น นับเป็นการสร้างรากฐานความเชื่อมั่นให้กับวิสาหกิจได้มากกว่ากลุ่มงานอาชีพเล็กๆ เพาะเป็นเหมือนสถานประกอบการขนาดเล็ก เพื่อเพื่อจัดการทุนของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ โดยการพึ่งพาตนเองและความพอเพียงของครอบครัวและชุมชน ซึ่งทุนไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่รวมถึงทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคม ที่ร้อยรัดผู้คนให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นพี่น้องไว้ใจกันให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน ยังประโยชน์ให้ชุมชนผู้เป็นเจ้าของวิสาหกิจนั้นเป็นหลัก
จากนั้นผู้ก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มงานแฮนด์เมดผู้สูงวัยบางกรวย ได้ขับเคลื่อนพลังผู้สูงวัยให้มีอาชีพสร้างรายได้จากงานฝีมือของพวกเขาในทุกประเภทงานของกลุ่ม ไม่วาจะเป็นงานศิลปะ งานหัตถกรรม งานปั้น งาน D.I.Y. ฯลฯ ถึงแม้จะต้องเจออุปสรรคบ้างก็ตาม เช่น ขาดแรงงานผู้สูงวัยที่มีฝีมือ ขาดการต่อยอดสร้างรายได้หลังจากเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานพัฒนาฝีมือ ขาดสถานที่ออกงานแสดงสินค้าหรือสถานที่จำาหน่าย เป็นต้น
“หลังจากได้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนฯ ขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ก็ได้แบ่งแยกกลุ่มงานตามความถนัดของสมาชิกผู้สูงวัย อาทิ กลุ่มงานผ้า กลุ่มงานสาน กลุ่มงานเย็บปัก งานปั้น รวมถึงการจัดกลุ่มงานสำหรับผลิตสินค้าที่ตรงกับเทศกาล วันสำาคัญต่างๆ อาทิ การจัดทำาดอกไม้วันเกิด หรือผลิตดอกไม้จันทน์สำหรับงานศพ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนอกจากนี้ยังมีกลุ่มงานกระเป๋าผ้า กลุ่มงานกระเป๋าเมคราเม่ (Macramé’) โดยวิธีการมัดหรือถักเชือกให้เป็นลวดลาย”
ด้วยความที่เธอเคยเป็นครูมาก่อน หลังจากที่ผลงานของกลุ่มวิสาหกิจฯ มีเสียงตอบรับมากขึ้น ทางสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานนนทบุรี ได้เชิญเธอเป็นวิทยากรสอนฝึกฝีมือวิชาชีพทั้งศิลปะการตกแต่งผ้าไทยและศิลปะการปักริบบิ้นในเวลาต่อมา และหลังจากนั้น ทางจังหวัดมีแนวคิดอยากส่งเสริม “โอ่งดินเผา” ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนนทบุรีให้เป็นสินค้า OTOP ประจำจังหวัดนนทบุรี
ทางจังหวัดมีความประสงค์อยากชู ‘โอ่ง’ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนนทบุรี แต่ถ้าเป็นโอ่งปั้นเดิม ๆ ก็ดูธรรมดาไป จึงมีคำตอบร่วมกันว่าจะรังสรรค์โอ่งธรรมดาให้เป็น ‘โอ่งผ้าไหม’ เป็นได้ทั้งของใช้ ของประดับตกแต่ง และของที่ระลึกที่หรูหรา ซึ่งประกอบจากผ้าไหมไทยกับโอ่งดินและเดินลายไทยด้วยดิ้นเงินดิ้นทองแล้วนำมาใส่ตู้กระจก ซึ่งจะอยู่ในราคาประมาณ 1,500 บาท และถ้าไม่ใส่ตู้กระจกจะอยู่ในราคา 900 บาท สามารถนำไปประดับตามสถานที่ต่างๆ ทำให้ได้บรรยากาศออกเป็นไทยๆ และเหมาะเป็นของฝากแก่ผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพรักและนับถืออีกด้วย
“งานรังสรรค์ผลิตภัณฑ์โอ่งดินธรรมดาเป็นโอ่งผ้าไหม ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิดภัณฑ์ ซึ่งแสดงถึงความสวยงาม ประณีตวิจิตร บรรจง ด้วยกระบวนการประดิษฐ์ที่ประกอบไปด้วยขั้นตอน หรือศาสตร์ที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ความชำานาญเฉพาะด้านที่เป็นที่ยอมรับของผู้สูงวัยในชุมชน เกิดเป็นผลงานปรากฏให้เห็นคุณค่า มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป แม้มีอุปสรรคในเรื่องคุณภาพของโอ่งดินที่ไม่ได้มีรูปทรงที่สวยงาม จำเป็นต้องมาขัดกลึงให้กลมเกลี้ยงเท่ากันทุกใบก็ตาม”
ในการผลิต “โอ่งผ้าไหม” มีการผลิตที่หลากหลายรูปแบบ หลายขนาด จำเป็นต้องจัดทำแบบให้เหมาะสมกับขนาดของโอ่งแต่ละขนาดไว้แล้ว และวาดแบบลงบนโอ่งไว้ให้พร้อมครบทุกชิ้นส่วนก่อนลงมือทำ ทั้งนี้เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการทำางานความยากง่ายของแบบขึ้นอยู่กับแนวคิดของกลุ่มว่าจะออกแบบมาในลักษณะใด ก็ต้องออกแบบและตัดแบบมาให้ได้ตามนั้น โอ่งใบใหญ่ที่มีฝาปิดจะมีรูปแบบที่ยากกว่าโอ่งใบเล็ก ซึ่งอาจต้องใช้ผู้สูงวัยที่มีความชำานาญมากกว่า จึงต้องมีการแบ่งงานกันทำตามความสามารถของแต่ละคน เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพ สำาหรับผลิตภัณฑ์โอ่งผ้าไหมนอกจากจะนำมาเป็นของประดับตกแต่งบ้านแล้ว ยังได้ออกแบบให้เป็นของใช้ เช่น โอ่งผ้าไหมใส่กระดาษทิชชู โอ่งใส่ดินสอ ปากกา หรือเครื่องเขียนอื่นๆ หรือแม้แต่เป็นโกฐิใส่อัฐิของผู้ล่วงลับ
ปัจจุบันแม้เศรษฐกิจซบเซาบ้าง ก็ต้องพยายามปรับตัวและหาช่องทางการตลาดใหม่ๆ ด้วยการขายผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนฯ ผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองบางกรวย หากทางเทศบาลฯ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ทางวิสาหกิจชุมชนฯ จะเป็นฝ่ายจัดเตรียมสินค้าเพื่อวางขายในสื่อออนไลน์ทันที
นอกจากนี้ คุณตุ๊ยังได้เปิดอบรมศิลปะผ้าไทยและศิลปะปักริ้บบิ้นให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจเพื่อนำไปใช้เป็นวิชาชีพติดตัวต่อไป โดยสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของสำานักงานพัฒนาฝีมือแรงงานนนทบุรีและเทศบาลเมืองบางกรวย เพื่อติดตามกิจกรรมการอบรมที่มีอยู่ เป็นประจำ หรือติดต่อมาที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มงานแฮนด์เมดผู้สูงวัยบางกรวย 160/122 หมู่ที่ 5 ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์: 090 991 1628